- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 4-10 ตุลาคม 2564
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,921 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 9,865 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,413 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 7,457 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,110 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 12,030 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 689 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,112 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ที่ตันละ 689 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,050 บาท/ตัน) แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 62 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,284 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ที่ตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,248 บาท/ตัน) แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 36 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,485 บาท/ตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,248 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 237 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.5447 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวพุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนครึ่ง ท่ามกลางภาวะการค้าที่ซบเซา เนื่องจากความต้องการข้าวในตลาดภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนในการหาซื้อข้าวเพิ่มขึ้นไปด้วย เป็นผลให้ข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ 425-430 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ราคาอยู่ที่ 415-420 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ขณะที่วงการค้ารายงานว่า ความต้องการข้าวภายในประเทศที่มีมากขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลมีโครงการจัดซื้อข้าวเพื่อเก็บเป็นสต็อกสำรองไว้
สมาคมอาหารเวียดนาม (Vietnam Food Association; VFA) รายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาข้าวในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงยังคงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะราคาข้าวเปลือกจากฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (summer-autumn crop) ที่ขายได้ที่ระดับไร่นาสูงสุดที่ 5,100 ด่องต่อกิโลกรัม (หรือประมาณ 220 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) เพิ่มขึ้น 100 ด่อง เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ย 4,950 ดองต่อกิโลกรัม ขณะที่ข้าวขาว 5% ราคาที่สูงสุดอยู่ที่ 9,400 ดองต่อกิโลกรัม
ข้อมูลสถิติจากสถาบันนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการเกษตรและการพัฒนาชนบท (the Institute of Policy and Strategy for Agriculture and Rural Development) ระบุว่า ราคาข้าวเปลือกยังคงทรงตัวในจังหวัด Soc Trang ยกเว้น ข้าวพันธุ์ Dai thom 8 ซึ่งราคาอยู่ที่ 7,300 ด่องต่อกิโลกรัม ลดลง 200 ด่องต่อกิโลกรัม ขณะที่ในพื้นที่อื่นๆ บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ราคาข้าวเปลือกอยู่ในระดับที่ไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน
ทั้งนี้ ราคาข้าวในประเทศที่เพิ่มขึ้นในช่วงปลายเดือนกันยายน ได้ส่งผลให้ราคาส่งออกพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ
2 เดือนครึ่ง เนื่องมาจากอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการซื้อต้องเพิ่มขึ้นตาม โดยราคาในขณะนี้เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม 2564
จากข้อมูลของหน่วยงานรัฐบาลในเบื้องต้น ในเดือนกันยายน 2564 คาดว่าเวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 530,000 ตัน ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 มีการส่งออกข้าวได้แล้วประมาณ 4.5 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา: Oryza.com และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
สหรัฐอเมริกา
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส รายงานว่า CoBank ธนาคารเอกชนที่ปล่อยเงินกู้ให้เกษตรกรในชนบทห่างไกลใน 50 มลรัฐในสหรัฐฯ ได้ทำรายงาน Fragrant Rice: Opportunity or Threat for
the U.S. Rice Industry เผยแพร่ในเดือนกันยายน 2564 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ความต้องการบริโภคข้าวที่มีกลิ่นหอม เช่น Jasmine Rice และ Basmati ในสหรัฐฯ เริ่มเติบโตในทศวรรษที่ 80 และขยายตัวต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน การขยายตัวของความต้องการในระยะแรกมาจากการเพิ่มของจำนวนประชากรเอเชียนอเมริกัน แต่ปัจจุบันการเติบโตระลอก 2 มาจากผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่ไม่ใช่เชื้อสายเอเชียที่สนใจและแสวงหา
การบริโภคอาหารหลากหลาย รวมถึงข้าวที่มีกลิ่นหอม คนอเมริกันมีทัศนคติว่า ข้าวนำเข้าคุณภาพดีกว่าข้าวสหรัฐฯ และมีแนวโน้มที่จะเลือกข้าวนำเข้ามากกว่า แม้ว่าจะมีราคาจำหน่ายสูงกว่าข้าวเมล็ดยาวของสหรัฐฯ 2-3 เท่าตัวก็ตาม
รายงานฯ ระบุว่า ข้าวหอมมะลิไทย แบรนด์ Elephant มีกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ ที่มี brand loyalty สูงมาก อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าความนิยมข้าวหอมนำเข้าไม่ส่งผลกระทบต่อยอดจำหน่ายข้าวพื้นเมืองสหรัฐฯ มากนัก แต่ช่วยเพิ่มจำนวนผู้บริโภคและความต้องการข้าวให้สูงขึ้น สร้างโอกาสให้ข้าวขาวเมล็ดยาว และข้าวหอมที่ผลิตได้ในสหรัฐฯ โดยใช้จุดขายที่ราคาต่ำกว่า และเจาะตลาดกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่คนเอเชียนอเมริกัน หรือไม่ใช่กลุ่มเอเชียนอเมริกัน
ที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ ที่เป็นรุ่น Gen X
ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ชี้ว่า การนำเข้าข้าวของสหรัฐฯ เติบโตต่อเนื่องตามการเติบโตของความต้องการข้าว
ที่มีกลิ่นหอมคุณภาพสูง ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นข้าวที่มีมูลค่าสูง ประกอบด้วย Jasmine Rice และ Basmati Rice โดยมีส่วนแบ่งในตลาดนำเข้าสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 35 และร้อยละ 16 ตามลำดับ
การผลิตข้าวในสหรัฐฯ ประสบปัญหาเรื่องพื้นที่ปลูกข้าวไม่ขยายตัว (static growth) ข้าว Hybrid ที่นิยมปลูกแพร่หลาย แม้ว่าจะให้ผลผลิตสูง แต่เป็นข้าวคุณภาพต่ำไม่ได้รับความนิยมเท่าข้าวที่มีกลิ่นหอม ทางแก้ปัญหาของสหรัฐฯ คือ
การพยายามค้นคว้าวิจัยการผลิตสายพันธุ์ข้าวที่มีกลิ่นหอม ที่ให้ผลผลิตเท่ากับข้าว Hybrid ซึ่ง ณ ปัจจุบันจะยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่สหรัฐฯ สามารถปลูกข้าวที่มีกลิ่นหอมที่เป็น Jasmine และ Basmati ได้บ้างแล้ว ในพื้นที่ปลูกข้าวในเขต Delta (พื้นที่บางส่วนในรัฐ Arkansas, Mississippi และ Louisiana) และ Gulf Coast รอบอ่าวเม็กซิโก (รัฐ Mississippi, Louisiana และ Texas) แม้ว่าจะประสบปัญหาสภาวะแวดล้อมหลายประการที่สำคัญ คือ เรื่องดิน แมลง และผลผลิตยังมีคุณภาพต่ำกว่าข้าวจากแหล่งผลิตในเอเชีย อย่างไรก็ดี เกษตรกรระบุว่า ได้กำไรมากกว่าข้าว Hybrid ที่ไม่มีกลิ่นหอม นอกจากนี้ยังมีรัฐ California ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวสำคัญ ปัจจุบันกำลังเร่งพัฒนาสายพันธุ์ข้าว Jasmine ที่เข้ากับสภาพอากาศใน California และให้ข้าวที่มีคุณสมบัติเท่าเทียมกับสายพันธุ์ดั้งเดิมจากเอเชีย California มีปัญหาจากสิ่งแวดล้อมด้อยกว่าในเขต Delta และ Gulf Coast แต่สภาวะภัยแล้งรุนแรงเป็นอุปสรรคสำคัญของการเพาะปลูกในรัฐ California
การส่งออกข้าวของสหรัฐฯ คาดว่าจะทรงตัวต่อไปในอนาคตอันใกล้ ปัญหาข้าวสหรัฐฯ ในตลาดการค้าโลก คือ ไม่สามารถแข่งขันกับข้าวเอเชียซึ่งมีระบบการพยุงราคาข้าวจากภาครัฐ และการลดลงของความต้องการข้าวสหรัฐฯ ของผู้ซื้อ
ในหลายประเทศ (ไม่รวมเม็กซิโก) ตลาดนำเข้าข้าวเปลือกของสหรัฐฯ เห็นว่าข้าว Hybrid สหรัฐฯ ขาดคุณภาพ และขนาดของข้าวไม่สม่ำเสมอ ต่างจากข้าว Jasmine และ Basmati ปัญหาเรื่องความเหนียวนุ่ม โดยเมื่อนำไปนึ่งเป็นข้าวนึ่ง (parboiled) ยากแก่การสีมากกว่าข้าวประเภทอื่น และขาดกลิ่นหอม เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวหอมจากเอเชีย
รายงานฯ ระบุว่าโอกาสการเติบโตในการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดทั้งในประเทศและในตลาดส่งออกทั่วโลกของอุตสาหกรรมข้าวสหรัฐฯ จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาคุณภาพข้าว ปรับปรุงสายพันธุ์ และการสีข้าว รวมไปถึงการพัฒนาการตลาด สร้างการยอมรับในกลุ่มผู้บริโภค ทั้งข้าวขาวเมล็ดยาวแบบดั้งเดิม และข้าวที่มีกลิ่นหอม ซึ่งทั้งหมดต้องอาศัยการลงทุนระยะยาวตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในความเห็นของผู้จัดทำรายงาน มองว่า นอกเหนือจากการลงทุนข้างต้นแล้ว การเพิ่ม
ขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมข้าวของสหรัฐ รัฐบาลสหรัฐฯ ควรดำเนินการผลักดันให้ประเทศในเอเชีย ลดข้อกีดกันทางการค้าด้านภาษี (Tariff Barriers) ลดการช่วยเหลือทางการเงินที่ภาครัฐให้แก่เกษตรกร ทั้งนี้ ในระยะสั้น ค่าขนส่งระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันสร้างโอกาสแข่งขัน และเปิดโอกาสให้แก่อุตสาหกรรมข้าวสหรัฐฯ เข้าไปเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดค้าข้าวในประเทศเพิ่มมากขึ้น
ที่มา: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.54 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้
ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71 และราคาขายส่งไซโล
รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.28 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 342.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,466.00 บาท/ตัน)ลดลงจากตันละ 344.20 ดอลลาร์สหรัฐ (11,515.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 และลดลงในรูป
ของเงินบาทตันละ 49.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 534.00 เซนต์ (7,157.00บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชล 538.00 เซนต์ (7,174.00บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 17.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.507 ล้านไร่ ผลผลิต 31.632 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.327 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.60 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 2.31 ตามลำดับ โดยเดือนตุลาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.59 ล้านตัน (ร้อยละ 4.75 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.39 ล้านตัน (ร้อยละ 61.00 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.15 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.47
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.07 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.26 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 13.34
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.38 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,386 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,364 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 478 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,991 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,034 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.333 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.240 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.119 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.201 ล้านตันของเดือนกันยายน คิดเป็นร้อยละ 19.12 และร้อยละ 19.40 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 7.78 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 7.40 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.14
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 39.78 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 38.70 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.79
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
พรรค Democrat ได้เสนอร่างกฎหมาย The Forest Act of 2021 ที่มีเป้าหมายในการยับยั้งการซื้อขายสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าอย่างผิดกฎหมาย เช่น น้ำมันปาล์ม โคเนื้อ ภายใต้ร่างกฎหมายนี้ ภาคเอกชนจะต้องพัฒนาการติดตามโซ่อุปทานสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปาล์มน้ำมัน โกโก้ ถั่วเหลือง โคเนื้อ และ ยาง
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,982.67 ดอลลาร์มาเลเซีย (40.88 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,728.59 ดอลลาร์มาเลเซีย (38.61 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.37
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,363.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (46.33 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,310.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (44.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.05
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ในปี 2563/2564 เนื่องจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในเอเชียและยุโรป การเพิ่มการผลิตน้ำตาลของบราซิล บวกกับค่า white premium ที่เพิ่มขึ้นชี้ให้เห็นถึงอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ด้าน Alvean กล่าวเสริมว่าราคาน้ำตาลในประเทศที่สูงขึ้นเนื่องจากสต็อกที่ลดลงมีส่วนทำให้ white premium สูงขึ้น ทั้งนี้คาดว่าราคาตลาดโลกจะต้องอยู่เหนือราคาในประเทศ
ของอินเดียเพื่อให้แน่ใจว่ามีอุปทานเพียงพอ
- สมาคมโรงงานน้ำตาลของอินเดีย ISMA และ Indian Sugar Exim Corporation (ISEC) คาดการณ์การส่งออกน้ำตาลปี 2564/2565 ไว้ที 5-6 ล้านตัน โดยอ้างว่าอินเดียไม่จำเป็นต้องส่งออกมากกว่านั้น เนื่องจากส่วนที่เหลือจะถูกนำไปผลิตเอทานอล ด้าน StoneX คาดการณ์ว่าในปี 2564/2565 อินเดียจะผลิตน้ำตาลได้ 31.5 ล้านตัน นอกเหนือจากนั้นประมาณ 3 ล้านตัน จะถูกนำไปผลิตเอทานอล และตั้งเป้าการส่งออก
ไว้ที่ 5-6 ล้านตัน
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,243.64 เซนต์ (15.53 บาท/กก.)
ลดลงจากบุชเชลละ 1,270.08 เซนต์ (15.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.08
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 320.04 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.88 บาท/กก.)
ลดลงจากตันละ 332.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.83
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 60.55 เซนต์ (45.36 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 58.25 เซนต์ (43.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.95
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,243.64 เซนต์ (15.53 บาท/กก.)
ลดลงจากบุชเชลละ 1,270.08 เซนต์ (15.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.08
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 320.04 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.88 บาท/กก.)
ลดลงจากตันละ 332.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.83
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 60.55 เซนต์ (45.36 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 58.25 เซนต์ (43.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.95
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.20 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.65
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.40 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.84
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.80 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.25
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.90
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 955.00 ดอลลาร์สหรัฐ (31.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 933.00 ดอลลาร์สหรัฐ (31.21 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.36 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.17 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 895.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 848.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.39 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.47 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.63 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,285.50 ดอลลาร์สหรัฐ (43.12 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,191.60 ดอลลาร์สหรัฐ (39.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.88 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 3.26 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 744.75 ดอลลาร์สหรัฐ (24.98 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 746.20 ดอลลาร์สหรัฐ (24.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,069.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.86 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 951.00 ดอลลาร์สหรัฐ (31.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.41 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 4.04 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.36 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.17 บาท ในสับดาห์ก่อนร้อยละ 8.14
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.18 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 17.04
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 109.43 เซนต์ (กิโลกรัมละ 81.99 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 102.07 เซนต์ (กิโลกรัมละ 76.25 บาท) ของสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 7.21 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 5.74 บาท)
ร้อยละ 7.21 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 5.74 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,710 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 1, 787 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,521 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 1, 557 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 999 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 1,042 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 65.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 66.08 คิดเป็นร้อยละ 0.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.10 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.03 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.37 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 65.74 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.30 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.97 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.44 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.99 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 32.60 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 30.73 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.95 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 289 บาท ลดลงจาก ร้อยฟองละ 296 บาทคิดเป็นร้อยละ 2.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 305 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 288 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 285 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.15 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 3.18 คิดเป็นร้อยละ 0.82 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 354 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 353 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.37 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 375 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 367 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 329 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 95.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 94.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.45 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.25 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 95.97 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.13 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 106.07 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.99 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.83 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 77.28 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 4 – 10 ตุลาคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.30 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 78.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.48 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 125.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.18 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 120.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.57 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท ปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.60 บาท ราคาราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 4 – 10 ตุลาคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.30 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 78.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.48 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 125.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.18 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 120.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.57 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท ปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.60 บาท ราคาราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท